วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เป๊ปซี่

            เป๊ปซี่ โคล่า คือ เครื่องดื่มอัดลมที่ผลิตโดยบริษัทเป๊ปซี่ ซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่งรายสำคัญของโคคา โคล่า เป๊ปซี่ โคล่ากำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยการคิดค้นของเภสัชกรคาแร็ป แรดแฮมที่นิวเบิร์น นอร์ทแคโรไลนา ในช่วงทศวรรษ1800-1900 แรกเริ่มเครื่องดื่มชนิดนี้ถูกตั้งชื่อว่า "เครื่องดื่มของแบรด (Brad's drink)" โดยมีเจตนาจะผลิตเครื่องดื่มชนิดนี้ขึ้นเพื่อช่วยรักษาอาการปวดท้อง ต่อมาแรดแฮมจึงตั้งชื่อเครื่องดื่มนี้ว่าเป๊ปซี่จากอาการปวดท้องที่เรียกว่า ไดเป๊ปเซีย ชื่อเป๊ปซี่นั้นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1903 ส่วนผสมของเป๊ปซี่ถือเป็นความลับทางการค้าเช่นเดียวกับสูตรผสมของ โค้ก เคเอฟซี และแม็คโดนัลด์

ไฟล์:Pepsi logo 2008.png

ประวัติ

-จุดเริ่มต้นของเป๊ปซี่

        เป๊ปซี่นั้น ในปี ค.ศ. 1898 ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เป็นยาในร้านขายยาของนาย คาเลบ แบรดแฮม (Caleb D. Bradham) เภสัชกรจากเมืองนิวเบิร์น รัฐนอร์ทแคโรไลนา คาเลบ แบรดแฮม รู้ว่าเพื่อเป็นการเรียกลูกค้าให้กลับมาใช้บริการร้านขายยาของเขาอีก เขาจะต้องทำให้ร้านขายยากลายเป็นแหล่งนัดพบกัน ในตอนเปลี่ยนเข้าศตวรรษใหม่เขาทำอย่างที่เภสัชกรหลายๆ ทำ คือมีตู้น้ำโซดาในร้านขายยา ซึ่งเขาบริการเครื่องดื่มแก่ลูกค้าด้วยน้ำโซดาที่เขาปรุงขึ้นเองโดยเป็นส่วนผสมของ น้ำคาร์บอเนต ผลโคล่า วานิลลา และน้ำมันหอมสกัด ลูกค้าของเขาพากันเรียกเครื่องดื่มนี้โดยใช้ชื่อว่าเครื่องดื่มคาร์บอเนต ใช้เครื่องหมายการค้าครั้งแรกว่า "แบรดส์ ดริงค์" (Brad's Drink)
        ต่อมาในปี ค.ศ. 1903 ต่อมามีการจำหน่ายและทำการขายผลิตภันฑ์ของเป๊ปซี่ โดยยังคงความเป็นต้นตำรับและคุณสมบัติการช่วยย่อยอาหาร จึงได้มีการจัดทำโฆษณาเครื่องดื่มว่า "สดชื่น มีชีวิตชีวา และช่วยในการย่อยอาหาร" ตามเจตนารมณ์เดิม หลังจากที่ได้มีการว่าจำหน่ายมาประมาณ 2 ปี ในปี ค.ศ. 1905ได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโลโก้ใหม่จากการก่อตั้งครั้งแรกในปี ค.ศ. 1898 โรงงานบรรจุขวด คาเลบได้เปลี่ยนชื่อเป็น เป๊ปซี่-โคล่า สาขาแรกได่ถูกก่อก่อตั้งในเมืองชาร์ล็อตและเดอร์แฮม รัฐนอร์ทแคโรไลนา 8 ปีต่อมาเป๊ปซี่เปลี่ยนโลโก้ใหม่อีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1906ซึ่งนับเป็นโลโก้แบบที่ 3 และเปลี่ยนแปลงข้อความโฆษณา "The Original Pure Food Drink" โดยในปีนั้นเป๊ปซี่มีโรงงานบรรจุขวดแล้วทั้งหมด 15 โรงงานทั่วสหรัฐอเมริกา โดยเครื่องหมายการค้าของเป๊ปซี่ ถูกจดทะเบียนเพิ่มในในประเทศแคนาดา โดยมียอดจำหน่ายมากถึง 38,605 แกลลอน และในปีต่อมาได่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป๊ปซี่ ในประเทศเม็กซิโก ในปี ค.ศ. 1907 และมีการเปลี่ยนมาใช้ข้อความที่ว่า "รสชาติเยี่ยมและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ" ภาษาอังกฤษ: ("Delicious and healthful") โดยมีการใช้ข้อความนี้มาต่อเนื่องยาวนานถึง 2 ทศวรรษ
           และได้ทำการโฆษณาเครื่องดื่มชนิดใหม่ของเขานี้ต่อลูกค้าที่ชื่นชอบ เมื่อยอดขายของเป๊ปซี่-โคล่าเริ่มเพิ่มขึ้นเขาจึงเริ่มตั้งบริษัทและทำการตลาดให้กับเครื่องดื่มใหม่ของเขา จนในปี 1902 เขาเริ่มดำเนินกิจการบริษัท เป๊ปซี่-โคลา ในห้องด้านหลังร้านขายยา เขาจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าและได้รับมอบสิทธิบัตรเมื่อ 16 มิถุนายน 1903 ในตอนแรกเขาผสมเครื่องดื่มด้วยตัวเองและจำหน่ายผ่านตู้กดน้ำ แต่ในไม่ช้าคาเลบเริ่มรู้ตัวว่ามีโอกาสอันดีรออยู่ -นั่นคือการบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่า เพื่อที่ว่าทุกๆ คนในวงกว้างจะได้สามารถลิ้มรสเครื่องดื่มของเขาได้

-เริ่มสร้างธุรกิจ

            ธุรกิจเป๊ปซี่-โคลาเริ่มต้นด้วยโฆษณาภายใต้แนวคิดว่า สดชื่น มีชีวิตชีวา ช่วยย่อยอาหาร ทำให้ในปี 1903 คาเลบขายเครื่องดื่มของเขาได้ 7,968 แกลลอน และในอีกสองปีต่อมาเขาได้ขยายการบรรจุขวดเป๊ปซี่-โคล่าออกไปอีก 2 สาขาให้กับนักลงทุนอิสระในเมือง ชาร์ล็อต และ เดอร์แฮม นอร์ธคาโรไลนา ในปี 1906 ได้สาขาขยายเพิ่มขึ้นอีกเป็น 15 สาขา และเพิ่มก้าวกระโดดไปเป็น 40 สาขาในปี 1907 จนกระทั่งในตอนปลายปี 1910 มีสาขาของเป๊ปซี่-โคลาตั้งอยู่ใน 24 รัฐ และขายเครื่องดื่มได้กว่า 100,000 แกลลอนต่อปี คาเลบประสบความสำเร็จในธุรกิจเป็นอย่างมาก ด้วยผู้บรรจุขวดเป๊ปซี่-โคลา นักลงทุน และการตั้งกองทุนที่มั่นคงเพื่อการขยายองค์กร นับเป็นการวางรากฐานของกิจการ เป๊ปซี่-โคล่า นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันนี้

-เป๊ปซี่ขยายไปทั่วโลก

               หลังจากสงครามสิ้นสุดลงในปี 1945 เป๊ปซี่-โคลาได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังแมนฮัตตัน และเริ่มขยายกิจการไปต่างประเทศ ทั้งละตินอเมริกา ฟิลิปปินส์ และตะวันออกกลาง สำหรับตลาดในประเทศก็ได้เริ่มทำการทดลองบรรจุภัณฑ์ขนาดใหม่ และเริ่มบรรจุกระป๋องเป็นครั้งแรก แต่การตลาดหลังสงครามมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ปรากฏการณ์ร้านค้าปลีกที่เรียกว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตเริ่มปรากฏขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจในการผลิตเครื่องดื่ม เป๊ปซี่ละทิ้งกลยุทธ์การขายเครื่องดื่มแบบเดิมที่ตั้งราคาขายครึ่งราคาของคู่แข่งหลัก ในไม่ช้าโฆณา ห้าเซ็นต์ ห้าเซ็นต์ ที่ใช้มาอย่างยาวนานก็ถูกแทนที่ด้วย ได้มากกว่า 1 ออนซ์ (More Bounce to the Ounce) เพื่อให้เข้ากับอเมริกายุคหลังสงคราม ในช่วงเวลานี้ ประธานบริษัทของเป๊ปซี่ อัล สตีล สมรสกับดาราภาพยนตร์ชื่อดังของอเมริกา โจน ครอวฟอร์ด (Joan Crawford)
             หลายคนเชื่อว่า ครอวฟอร์ด เป็นผู้ที่เปลี่ยนแนวคิดบริษัทจาก คุณค่า ของยุค 40 ไปเป็นการรณรงค์ด้วยแนวคิดใหม่ทางด้านภาพลักษณ์ในปี 50 มีการนำฝาขวดมาออกแบบเป็นโลโก้ใหม่ และเป๊ปซี่ไม่ได้ทำโฆษณาโดยยึดจุดเด่นทางด้านราคาอีกต่อไป แต่เปลี่ยนมาพูดถึงไลฟ์สไตล์ หลังจากการเสียชีวิตของ มิสเตอร์ สตีล ในปี 1959 แล้ว มิส ครอวฟอร์ด ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหาร ในยุคนั้นชาวอเมริกันมีความตระหนักในเรื่องน้ำหนักตัวกันมากขึ้น โฆษณาของเป๊ปซี่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมนี้ด้วยแคมเปญเป๊ปซี่มีแคลอรี่ต่ำผ่านสโลแกน ความสดชื่นแบบเบาๆ (The Light Refreshment) และ สดชื่นได้ โดยไม่ต้องเติม (Refreshing Without Filling)
            ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปอย่างก้าวหน้า ขวดรูปแบบใหม่ในแบบเกลียวที่สวยงามโดดเด่นถูกผลิตออกมาในปี 1958 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการรณรงค์โฆษณาใหม่ อยากเข้ากันได้กับกลุ่ม ดื่มเป๊ปซี่สิ (Be sociable, have a Pepsi) ในตลาดต่างประเทศเป๊ปซี่ยังคงขยายตัวออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำหน่ายใน 120 ประเทศ ในปี 1959 ที่งานแสดงสินค้า American Exposition ที่กรุงมอสโคว์ ประธานเป๊ปซี่-โคล่า อินเตอร์เนชั่นแนล โดนัลด์ เอ็ม. เคนดัลล์ ได้พบกับรองประธานาธิบดี ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน และนายกรัฐมนตรีของโซเวียต ครุสชอฟ ซึ่งได้เยี่ยมชมตู้จำหน่ายเป๊ปซี่ ในครั้งนั้นสื่อมวลชนพากันถ่ายภาพของสองผู้นำโลกจิบเป๊ปซี่และนำไปสู่การพาดหัว การเข้าสังคม บนหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วโลกเข้าสังคมเป็นแคมเปญโฆษณาแรกของเป๊ปซี่-โคล่า ที่จับกลุ่มคนหนุ่มสาวเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และในไม่นานต่อจากนั้นก็ตามมาด้วยอีกหลายแคมเปญที่ใช้คนหนุ่มสาวเป็นหลัก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบุคลิกของเป๊ปซี่ เป๊ปซี่ สำหรับผู้ที่คิดแบบหนุ่มสาว (Now It's Pepsi, for those Who Think Young.)

-ยุคสมัยเป๊ปซี่

           ก้าวใหม่ของวงการโฆษณา ในตอนปลายของทศวรรษ 1950 เกิดปรากฏการณ์ทางด้านประชากรศาสตร์ที่เรียกว่า Baby Boom ซึ่งโลกเปลี่ยนโฉมหน้าไปตลอดกาล คนอเมริกันต้องคิด กระทำ และ ดำรงชีวิต พวกเขาคือคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์ใหม่ และมุ่งหน้าไปสู่อนาคต ด้วยความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่รออยู่ข้างหน้าต้องดีกว่าสิ่งที่ผ่านมา เป๊ปซี่-โคล่า จับทัศนคตินั้นรวมเข้ากับจิตวิญญาณของพวกเขา ด้วยชื่อที่อยู่เหนือเวลาและบ่งบอกถึงตัวตนของคนอเมริกันในวันนี้ พวกเขาคือ Pepsi Generation กลุ่มแรก ผู้นำทางสังคม ชอบความสนุกสนาน คนอเมริกันร่วมสมัยอ้างเอาเป๊ปซี่เป็นสัญลักษณ์ของพวกเขา ภายใต้แนวคิด มาเถิด! คุณคือคนยุคเป๊ปซี่ (Come Alive! You're in the Pepsi Generation) แคมเปญนี้ถูกปล่อยออกมาในตอนต้นของช่วงยุค 60s สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการโฆษณา ใหม่ ไม่เหมือนใคร สะท้อนภาพวิถีชีวิตของคนอเมริกันได้อย่างที่สุด
           นับตั้งแต่นั้นมา แคมเปญโฆษณา Pepsi Generation นี้ก็กลายเป็นหนึ่งในโฆษณาที่ชื่นชอบที่สุด และจดจำได้มากที่สุดอันหนึ่งของคนอเมริกัน – “Join the Pepsi People, Feelin' Free” “You've got a Lot to Live. Pepsi's Got a Lot to Give” “Have a Pepsi Day!” “Catch that PepsiSpirit!” “Pepsi Now!” “The Joy of Pepsi” - แคมเปญที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนภาพของอเมริกาได้อย่างดีที่สุด
          เบบี้บูม ไม่ใช่เพียงจำนวนประชากรของประเทศชาติเท่านั้นที่เปลี่ยนไป แต่ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการบริโภคอีกด้วย ดังนั้นในปี 1964 บริษัทจึงพัฒนาเครื่องดื่มแคลอรี่ต่ำที่ยังคงมีรสชาติเหมือนเป๊ปซี่-โคล่า ใช้ชื่อว่า ไดเอ็ท เป๊ปซี่มีการโฆษณาควบคู่ไปกับเป๊ปซี่ หนึ่งในโฆษณาชิ้นแรกๆ ของไดเอ็ท เป๊ปซี่ มีชื่อว่า Girlwatchers มีเพลงประกอบโฆษณาที่ติดหู จนได้รับความนิยมติดอันดับ top 40
         ในปี 1964 เมาเทนดิว เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในประเทศ กลายเป็นตัวสำคัญในการเสริมทัพความแข็งแกร่งให้กับเป๊ปซี่-โคล่า ด้วยแนวคิดการโฆษณา Ya-Hoo, Mountain Dew! ก็กลายมาเป็นลายเซ็นที่สร้างความจดจำให้กับตรายี่ห้อ การจำหน่ายเป๊ปซี่บรรจุกระป๋องที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้มีจุดเริ่มต้นในปี 1965 และในปีเดียวกันนั้นบริษัทเป๊ปซี่-โคล่ายุบรวมกับบริษัท ฟริโต-เลย์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายขนมขบเคี้ยวที่ประสบความสำเร็จจากเมือง ดัลลัส เท็กซัส และกลายเป็นบริษัท PepsiCo, Inc. - หนึ่งในบริษัทประสบความสำเร็จของอเมริกา โดนัลด์ เอ็ม. เคนดัลล์ เป็นผู้ก่อตั้ง และหลังจากนั้นไม่นาน บริษัทก็ทำการเปิดดำเนินธุรกิจในยุโรปตะวันออก และ ญี่ปุ่น

-ความท้าทายของเป๊ปซี่

          ปรากฏการณ์ทางธุรกิจที่น่าจดจำเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960 ถึงยุค 70 นักธุรกิจ สื่อ และ ผู้บริโภคสังเกตได้ว่าเป๊ปซี่เริ่มมาแรง และเริ่มตีตลาดเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ โคคา-โคล่า ด้วยความสำเร็จ สื่อตั้งชื่อการแข่งขันนี้ว่า สงครามโคล่า และมันก็ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวงการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์
         ตลอดยุค 70 เป๊ปซี่ยังคงก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ขวดบรรจุขนาดใหญ่ได้ถูกแนะนำออกสู่ตลาด อย่างเช่นขวด 32 ออนซ์ และ 64 ออนซ์ หลังจากนั้นขนาดบรรจุขนาดครอบครัวก็ทำให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งต้องขอบคุณขวดพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา นำไปรีไซเคิลได้ และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย พลาสติกก็มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงยิ่งกว่าแก้ว ในปี 1970 บริษัทย้ายสำนักงานใหญ่จากนิวยอร์กไปยัง เพอร์เชส นิวยอร์ก เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยน และเป๊ปซี่เปลี่ยน และ Pepsi Generation ยังคงดำเนินไปได้อย่างถูกจังหวะเวลา ไดเอทเป๊ปซี่ ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โฆษณาของ เมาเทนดิว ก็แพร่ภาพทางโทรทัศน์ไปทั่วประเทศเป็นครั้งแรก ในต่างประเทศ ประมาณ 15 ปีให้หลังที่รองประธานาธิบดี นิกสัน และนายกรัฐมนตรี ครุสชอฟ ของโซเวียตได้เยี่ยมชมตู้จำหน่ายเป๊ปซี่-โคล่า ที่งานแสดงสินค้า American Exposition เป๊ปซี่กลายมาเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคอันดับแรกของอเมริกาที่มีการผลิตในสหภาพโซเวียต ระหว่างครึ่งทศวรรษของ Pepsi Challenge มีการทำกลยุทธ์ทางการตลาดนานาชาติ เมื่อผู้บริโภคได้ทดลองดื่มแล้วและยืนยันว่าผู้คนจำนวนมากชื่นชอบรสชาติของเป๊ปซี่มากกว่าโค้ก แคมเปญ Pepsi Challenge ทำให้เรื่องจริงกลายเป็นโฆษณา ด้วยการบันทึกภาพการทดลองดื่มเป๊ปซี่และโค้ก แคมเปญนี้สร้างประวัติศาสตร์ทางการตลาด และช่วยให้เป๊ปซี่ได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น ในปี 1976 อย่างไม่เคยมีมาก่อน เป๊ปซี่-โคล่า กลายเป็นเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ที่มียอดขายมากที่สุดในซูเปอร์มาร์เก็ตในอเมริกา ในตอนต้นของ 1980s เป๊ปซี่เป็นอันดับหนึ่งในด้านของการขายสินค้าซื้อกลับบ้าน (ร้านขายของชำ และร้านสะดวกซื้อ) ตลาดของการลดน้ำหนักเติบโตขึ้น และไดเอทเป๊ปซี่ก็เจริญเติบโตด้วย เช่นกันกับ เมาเท่นดิว ที่ทะยานตัวขึ้นด้วยแคมเปญโฆษณา Give Me a Dew

-เป๊ปซี่ฮิตติดชาร์ต

          ในปี 1984 แทบจะไม่มีใครสังเกตว่า Pepsi Generation ได้ฉลองครบรอบปีที่ 20 แต่กลับสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการโฆษณา ซึ่งในครั้งนี้ดนตรีป๊อปได้เข้ามารับบทเด่น ด้วย Pepsi. The Choice of a New Generation และอีกครั้งที่ส่งให้เป๊ปซี่เป็นผู้นำแถวหน้าในวัฒนธรรมร่วมสมัย ในก้าวแรก แคมเปญ New Generation เป็นการปะทะกันระหว่างสุดยอดเอ็นเตอร์เทนเนอร์แห่งยุค ไมเคิล แจ๊คสัน และ บิลลี จีน นำแสดงในโฆษณาชุดของ เป๊ปซี่-โคลา เป็นการรวมเอาโลกของธุรกิจและความบันเทิงเข้าไว้ในวิถีทางที่ไม่มีใครเห็นมาก่อน
         เส้นทางความสำเร็จของเป๊ปซี่ จากโฆษณา Pepsi Generation ถึง Pepsi Challenge และสู่ New Generation ส่งผลกระทบไปทั่ว โคคา-โคล่า ซึ่งเป็นคู่แข่งที่ใหญ่ที่สุดของ Pepsi-Cola พยายามหนีจากการเจริญเติบโตของเป๊ปซี่ จนได้ละทิ้งสูตรส่วนผสมเดิมๆ ที่ล้าสมัยของโค้ก และปรับเปลี่ยนให้รสชาติใกล้เคียงกับเป๊ปซี่ยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดีผู้บริโภคให้การปฏิเสธอย่างรวดเร็ว จนโคคา-โคล่าต้องกลับมาสู่ผลิตภัณฑ์เดิมภายใต้ชื่อ โคคา-โคล่า คลาสสิก ประธานเป๊ปซี่ โรเจอร์ เอ็นริโค ประกาศชัยชนะในสงครามโคล่า และให้รางวัลแก่พนักงานของเป๊ปซี่ด้วยการประกาศวันหยุดเพิ่มเติมตลอดช่วงยุค 80 ดารา ซูเปอร์สตาร์ มากมายได้เข้ามาร่วมงานกับเป๊ปซี่ รวมทั้งนักร้องเพลงป๊อปอย่าง ไลโอเนล ริชชี่, ทีน่า เทอร์เนอร์, เดวิด โบวี่, เกล็น เฟรย์ และ กลอเรีย เอสตาฟาน และนักกีฬาชื่อดัง โจ มอนทานา และ แดน มาริโน ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรก เจอรัลดีน เฟอร์ราโร ก็นำแสดงในสปอตโฆษณา ไดเอทเป๊ปซี่ ด้วย ไมเคิล เจ. ฟ็อกซ์ ก็ได้ฝากฝีมือยอดเยี่ยมไว้ในภาพยนตร์โฆษณาชุดของ เป๊ปซี่ และ ไดเอทเป๊ปซี่ ไมเคิล แจ๊คสัน กลับมานำแสดงในภาพยนตร์โฆษณาอลังการ และเป๊ปซี่ได้ขึ้นไปบนกระสวยอวกาศซึ่งออกแบบเป็นพิเศษ กระป๋องอวกาศ เมื่อเป๊ปซี่ขยายฐานผู้บริโภคออกไปด้วยการโฆษณา การขยายไปนานาชาติก็ดำเนินต่อไป เป๊ปซี่เปิดตลาดใหม่ๆ ด้วยการกระจายไปยังประเทศจีน ในตอนกลางของทศวรรษมีโรงงานเป๊ปซี่มากกว่า 600 โรงใน 148 ประเทศทั่วโลก

-ขยายศักยภาพ

            ในตอนเริ่มต้นของช่วงปี 1990 นับเป็นยุคใหม่ของธุรกิจเป๊ปซี่-โคล่าทั่วโลก บริษัททำการเซ็นสัญญาทางการค้าครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์กับทางสหภาพโซเวียต และลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพสูงเช่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปตะวันออก เม็กซิโก และ อาร์เจนตินา ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของโฆษณา ตำนานของวงการดนตรี เรย์ ชาร์ลส์ เข้าร่วมเป็นครอบครัวเป๊ปซี่ ด้วยการร้องเพลง “You Got the Right One Baby, Uh-Huh!” ให้กับ ไดเอท เป๊ปซี่ นางแบบชื่อดัง ซินดี้ ครอว์ฟอร์ด ช่วยโปรโมทแพ็คเกจดีไซน์ใหม่ นอกจากนั้นนักบาสเก็ตบอลชื่อดัง ชาควิลล์ โอนีล ก็ช่วยเตือนอเมริกาว่า “Be Young, Have Fun, Drink Pepsi.” เมาเทนดิว และ ไดเอทเมาเทนดิว ในขณะนี้เป็นเครื่องหมายการค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของอเมริกา - นำเสนอภาพลักษณ์ Generation X ผ่านกลุ่มเด็กหนุ่มแรงๆ ที่เรียกกันว่า Dew Crew
           โฆษณา Pepsi Challenge ได้ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในต่างประเทศ แห่งแรกคือที่ละตินอเมริกา เป๊ปซี่เวอร์ชั่นไม่มีคาเฟอีน ไดเอทเป๊ปซี่ และ เมาเท่นดิว มาช่วยเสริมทัพให้กับเป๊ปซี่ ผู้บริโภคยังคงต้องการเครื่องดื่มรสชาติใหม่ๆ เป๊ปซี่จึงได้ขยายสายผลิตภัณฑ์และก้าวสู่โฉมใหม่ของธุรกิจ - บริษัทเครื่องดื่มครบวงจร ทั้งเครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ น้ำดื่ม ชา กาแฟ น้ำผลไม้
ด้วยการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท โธมัส เจ. ลิปตัน ในปี 1991 ทำให้เป๊ปซี่กลายเป็นผู้นำทางการตลาดในชาพร้อมดื่ม ด้วย ลิปตัน บริสก์ ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในตลาด และยังจับมือกับกาแฟสตาร์บัคส์ ผลิตกาแฟ แฟรปปูชิโน ซึ่งเป็นเครื่องดื่มกาแฟเย็นในรูปแบบใหม่ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว กลายเป็นกาแฟเย็นพร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมที่สุด
           แนวคิด Generation กลับมาอีกครั้งสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ของเป๊ปซี่ ในปี 1998 เมื่อเป๊ปซี่เฉลิมฉลองครบ 100 ปี เป๊ปซี่แคนช่วยสนันสนุนภาพลักษณ์ใหม่รับศตวรรษใหม่ ภาพลักษณ์ใหม่ของเป๊ปซี่เรียกกันว่า Globe ภาพลูกทรงกลม 3 มิติ โดดเด่นออกจากพื้นหลังที่เป็นภาพน้ำแข็ง โลโก้นี้ปรากฏอยู่บนรถบรรทุกเป๊ปซี่ ตู้จำหน่าย คูลเลอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ... พูดง่ายๆ ว่าทุกอย่างที่เป็นของเป๊ปซี่ เป๊ปซี่เป็นผู้นำแนวคิดวันหมดอายุมาใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สามารถทราบได้ว่าเครื่องดื่มจะหมดอายุในวันไหน วันที่หมดอายุถูกใช้เป็นครั้งแรกบนบรรจุภัณฑ์ของไดเอทเป๊ปซี่ และกลายเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่ทั้งหมด วันหมดอายุยังกลายมาเป็นแบบแผนของอุตสาหกรรมอีกด้วย

-สหัสวรรษใหม่

          เมื่อเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ ทีมวิจัยและพัฒนาของเป๊ปซี่ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของเป๊ปซี่ เมาเทนดิวออกรสชาติใหม่: Mountain Dew Code Red (เมาเทนดิวรสเชอร์รี่) และ Mountain Dew LiveWire (เมาเทนดิวรสส้ม) และ เซียร์รา มิสต์ ออกผลิตภัณฑ์ใหม่รสมะนาว แบรนด์ชั้นนำของเป๊ปซี่นำทัพด้วย Pepsi ONE, Pepsi Twist, Pepsi Vanilla และ Pepsi Edge เป๊ปซี่ที่มีแคลลอรี่ และน้ำตาลแค่ครึ่งเดียวของโคล่าปกติ ความต้องการเครื่องดื่มปราศจากคาร์บอเน็ตของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน เป๊ปซี่ตอบสนองด้วยเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ SoBe และเสริมด้วยเครื่องดื่มอย่างเช่น Dole และ ทรอปิคคาน่า เป๊ปซี่ให้ความสดชื่นสำหรับทุกรสชาติและทุกเวลาของวัน ผ่านทั้งทางสื่อกระจายเสียง อินเทอร์เน็ต และ ตู้เครื่องดื่ม การโฆษณาและการตลาดที่เหนือชั้นของเป๊ปซี่ก็ยังเป็นผู้นำที่กล่าวขานอีกด้วย

-เข้าสู่ยุคดิจิตอล

            เมาเทนดิวนำเสนอตัวเองภายใต้คอนเซ็ปต์ความตื่นเต้นท้าทายของ Dew Dudes ไม่ว่าจะเป็นการปีนเขาจนถึงสู้กับเสือชีต้า ไม่มีอะไรที่คนพวกนี้จะไม่ทำเพื่อให้ได้เมาเท่นดิวของเขา การเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ทำให้เป๊ปซี่และตรายี่ห้อสดใหม่อยู่ในใจผู้บริโภคเสอ และยืนอยู่แถวหน้า การสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาดกับ Yahoo เป็นการช่วยโปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก ผู้บริโภคสามารถนำคะแนนเป๊ปซี่มาแลกของรางวัลทางออนไลน์ได้ เป๊ปซี่ทีวี ออกอากาศครั้งแรกด้วยการโชว์เพลง “Pepsi Smash” เป๊ปซี่ยังจับมือกับ Apple Computer, Inc. เว็บไซต์ iTunes และเครื่องเล่นเพลง iPod เพื่อจับสลากรางวัลให้ดาวน์โหลดฟรี และรางวัลอื่นๆ อีกด้วย
            ในสนามกีฬา เป๊ปซี่จับมือกับสมาคมเบสบอลที่ดังที่สุด สมาคมฟุตบอลดัง และสมาคมฟุตบลทีมชาติ รวมทั้งกับดาวเด่นของแต่ละสมาคมกีฬาอีกด้วย ปัจจุบันนี้ Pepsi-Cola ยังคงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รสชาติใหม่ๆ และบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ในหลากหลายรูปทรงและขนาดเพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภค เป๊ปซี่ยังคงมองหาวิถีทางที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่พวกเขาต้องการ ได้ทุกเมื่อ และทุกที่

เปิดตัวเป๊ปซี่ในประเทศไทย
            บริษัท เสริมสุข จำกัด ได้ก่อตั้งโรงงานขนาดย่อมแห่งแรกขึ้นบนเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ณ ถนนสีลม และเริ่มเปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2496 ในเวลา 7.00 น. เครื่องดื่มเป๊ปซี่ ได้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดเมืองไทย เพื่อสร้างความสดชื่นให้แก่คนไทยทั้ง ประเทศเป็นครั้งแรก ด้วยขวดขนาด 10 ออนซ์ ภายใต้คำขวัญโฆษณา "ดีมาก มากดี" (Quality Quantity)


การโฆษณา

-พรีเซนเตอร์คนแรก

  • ในปี ค.ศ. 1909 เป๊ปซี่ได้นำนักแข่งรถระดับแนวหน้า ชื่อ นายบาร์นี่ โอลด์ฟิลด์ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงคนแรกที่ปรากฏตัวในโฆษณาเป๊ปซี่ในหน้าหนังสือพิมพ์ โดยมีข้อความว่า "เครื่องดื่มชั้นยอด…เติมความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เป็นเครื่องบำรุงกำลังสำหรับการแข่งขันประลองความเร็ว" (อังกฤษ: A bully drink…refreshing, invigorating, a fine bracer for a race.)
             รอน บราวน์ (Ron Brown) เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ เป็นชาวอาฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่ปรากฏในแคมเปญโฆษณาที่เป๊ปซี่มุ่งเน้นเจาะตลาด อาฟริกัน-อเมริกัน
            ในปี ค.ศ. 1950 มีดาราฮอลลีวูด โจน ครอวฟอร์ด (Joan Crawford) ภรรยาของนายอัลเฟรด เอ็น สตีล ประธานกรรมการและ CEO ของเป๊ปซี่-โคล่า เป็นพรีเซ็นเตอร์ในการโปรโมทสินค้าของเป๊ปซี่-โคล่า โดยในยุคนั้นเป็นยุคที่เป็ปซี่สามารถก้าวทันรสนิยมของผู้บริโภค โดยมีการเพิ่มข้อความโฆษณาการส่งเสริมการขายเป๊ปซี่-โคล่าว่าเป็นประสบการณ์ มากกว่าการต่อรองราคา โดยใช้ชื่อว่า "สองเท่าในราคา 5 เซ็นต์" (อังกฤษ: Twice as much for a nickel) ก็เหมือนกับ "ได้มากกว่า 1 ออนซ์" (More Bounce to the Ounce) ทำให่ในปี 1950 สามารถทำยอดขายได้มากที่สุดและเป็นที่ชืนชอบและนิยมมากที่สุดในทศวรรษนั้น

-แนวคิดชุดโฆษณา

  • ปี ค.ศ. 1943 ได้มีการออกโฆษณาชุด "Twice as much" โดยมีแนวความคิด "Bigger drink และ better taste" เข้าไปด้วยโดยใช้ "Bigger Drink, Better Taste" เป็นแนวคิดหลัก เพื่อนำเป๊ปซี่-โคล่า ก็เริ่มแพร่ไปสู่ ละติน อเมริกา
  • ปี ค.ศ. 1949 มีการเพิ่มประโยค "Why take less when Pepsi's best?" เข้าไปในโฆษณา "Twice as much" ซึ่งเป็นประโยคเด็ดที่โดนใจผู้ที่นิยมชมชอบเป๊ปซี่
  • ปี ค.ศ. 1953 เมื่อ ชาวอเมริกันเริ่มตระหนักถึงเรื่องน้ำหนักตัว เป๊ปซี่เริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่เกี่ยวกับเรื่องแคลอรี่ต่ำในแคมเปญ "ความสดชื่นแบบเบาๆ" ("The Light Refreshment")
  • ค.ศ. 1954 ข้อความโฆษณา "ความสดชื่นแบบเบาๆ " ได้มีการการปรับเปลี่ยนเข้ากับ "สดชื่นได้โดยไม่ต้องเติม" ("Refreshing Without Filling")
  • ค.ศ. 1958 เป๊ปซี่ก็ได้รับการขนานนามว่าเป็น the kitchen cola เนื่องจากการการจำหน่ายในระยะเวลายาวในในราคาที่ถูกและพอเหมาะ ทำให้เป๊ปซี่สามารถกำหนดกลุ่มลูกค้าไว้ที่บรรดาผู้บริโภคหนุ่มสาวที่ทันสมัย ด้วยแนวคิด "อยากเข้ากันได้กับกลุ่ม ดื่มเป๊ปซี่สิ" ("Be sociable, have a Pepsi") ความโดดเด่นของขวดเกลียว เข้ามาแทนที่ขวดแบบเรียบแบบเก่าของเป๊ปซี่และเป็นที่มาของการโฆษณาใหม่ด้วย

ส่วนประกอบ
  1. น้ำตาล
  2. น้ำตาลไหม้
  3. กาเฟอีน(ไร้กาเฟอีน)
  4. กรดฟอสฟอริก
  5. สารสกัดจากใบโคคา(สกัดเอาโคเคนออกแล้ว) และสารสกัดจากเมล็ดโคลาปริมาณเล็กน้อย
  6. กรดน้ำส้ม และโซเดียมไซเทรต
  7. มะนาวฝรั่ง ส้ม มะนาว แคสเซีย(cassia คืออบเชยชนิดหนึ่ง) น้ำมันลูกจันทร์เทศ และสารอื่นๆ
  8. กลีเซอรีน
  9. วานิลลา
สินค้า

-ผลิตภัณฑ์เป๊ปซี่

  • เป๊ปซี่ รสต้นตำรับ
  • ไดเอ็ท เป๊ปซี่ นั้นเปิดตัวในปี 1964 ผลิตภัณฑ์ของเป๊ปซี่ โคล่าชนิดนี้เป็นเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาลและปราศจากแคลอรี่ ไดเอ็ทเป๊ปซี่นั้นมีหลายรส เช่น รสไวด์เชอรี่ รสวนิลา และรสมะนาว ในบางประเทศ เรียก ไดเอ็ท เป๊ปซี่ว่า เป๊ปซี่ไลท์ และในประเทศไทยเรียกว่า Pepsi Max
  • เป๊ปซี่ ฟรี สูตรไม่มีคาเฟอีน ปัจจุบันคือ คาเฟอีนฟรี เป๊ปซี่
  • คริสตัลเป๊ปซี่ และ เป๊ปซี่เคลียร์ สูตรน้ำใส
    • คริสตัลเป๊ปซี่ รสซิทรัส ขายปี 1992 - 1993
    • เป๊ปซี่เคลียร์ โซดาป๊อป (ทำนองสไปรท์) คริสต์มาส 2005 เฉพาะเม็กซิโก
  • เป๊ปซี่ เฟรช สูตรเพิ่มความสดชื่น limited-Ed in summer 2007
  • เป๊ปซี่ บลู - ปี 2003/2004
  • เป๊ปซี่ บลูฮาวาย - limited-Ed ญี่ปุ่น รสสับปะรดผสมมะนาว น้ำสีฟ้า
  • เป๊ปซี่ คาร์นิวัล (ต่อมาคือ เป๊ปซี่ ซัมเมอร์มิกซ์)
  • เป๊ปซี่ ไฟร์แอนด์ไอซ์ - ขายใน เกาะกวม เกาะไซแปน ไทย มาเลย์เซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก
    • เป๊ปซี่ ไฟร์ - รสชินนะมอน
    • เป๊ปซี่ ไอซ์ - รสมินท์
  • เป๊ปซี่ โกลด์ - limited-Ed 2006 World Cup
  • เป๊ปซี่ กรีน - มีเฉพาะประเทศไทย ปี 2009 สีของน้ำเป็นสีเขียวคล้ายกับเป๊ปซี่ ไอซ์ คิวคัมเบอร์ แต่มีลักษณะที่เป็นสีสดและไม่ใสเท่ากับไอซ์ คิวคัมเบอร์
  • เป๊ปซี่ ไอซ์ ขายในสาธารณรัฐเช็ก เป็นรสแอบเปิล และเป็นคนละผลิตภัณฑ์กับ เป๊ปซี่ไฟร์แอนด์ไอซ์
  • เป๊ปซี่ ไอซ์ คิวคัมเบอร์ - รสแตงกวา ขายในญี่ปุ่นเท่านั้น
  • เป๊ปซี่ เลมอน (ต่อมาคือ เป๊ปซี่ ทวิสต์)
  • เป๊ปซี่ แม็กซ์ สูตรไม่มีน้ำตาล ไร้พลังงาน ฯลฯ มีหลายรส
  • เป๊ปซี่ รอว (raw) - มีขายเฉพาะในอังกฤษ ผสมสารสกัดจากแอบเปิล องุ่น ใบกาแฟ ฯลฯ
  • เป๊ปซี่ เรด - มีขายเฉพาะในญี่ปุ่น
  • เป๊ปซี่ เรโทร (retro) - ขายเฉพาะในเม็กซิโก
  • เป๊ปซี่ แซมบา - ขายในออสเตรเลีย
  • เป๊ปซี่ สตรอเบอรี่เบอร์ส -
  • เป๊ปซี่ ซัมเมอร์ชิลล์ - รสแอปเปิล ขายในโปแลนด์ เช็ก สโลวักเกีย
  • เป๊ปซี่ ซัมเมอร์มิกซ์ - รสผลไม้เขตร้อน ขายในอเมริกา
  • เป๊ปซี่ ทรอปิคอลชิลล์
  • เป๊ปซี่ ทรอปิคอลมิกซ์ - ขายใน อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น
  • เป๊ปซี่ ทวิสต์ - รสมะนาว
  • เป๊ปซี่ วานิลลา - รสวานิลลา ผลิตในปี2003
  • เป๊ปซี่ ไวท์ - รสโยเกิร์ต น้ำสีขาวขุ่น ขายในญี่ปุ่น
  • เป๊ปซี่ ไวท์ เชอรี่ - รสเชอรี่ ขายในอังกฤษ
  • เป๊ปซี่ เอกซ์ เอนเนอร์จี - สูตรเพิ่มพลังงาน คาเฟอีน น้ำตาล

การวางขายในประเทศไทย

เป๊ปซี่ขวดแรกของไทย ออกวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2496 เวลา 7.00 น.
บริษัทเสริมสุข ได้ยกเลิกสัญญาผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่ม เป๊ปซี่ ภายในประเทศไทย เริ่ม 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป

-ชนิดเป๊ปซี่จำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย

  • เป๊ปซี่
  • เป๊ปซี่ MAX
  • เป๊ปซี่ ทวิสต์
  • เป๊ปซี่ BLUE (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
  • เป๊ปซี่ ลาเต้ (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
  • เป๊ปซี่ FIRE (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
  • เป๊ปซี่ ICE (ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
  • เป๊ปซี่ GOLD (ถูกผลิตออกมาจำหน่ายเมื่อช่วงฟุตบอลโลก พ.ศ.2549 ปัจจุบันหยุดการจำหน่าย)
  • เป็ปซี่ โคล่า (จัดจำหน่ายครบรอบ 55 ปี)
  • เป๊ปซี่ กรีน (เริ่มจำหน่ายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552)
  • เป๊ปซี่ เชียร์ (เริ่มจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 มีรสชาติคล้ายกับ เป๊ปซี่ GOLD)

-โปรโมชั่นและสมนาคุณ

  • พ.ศ. 2536 เป๊ปซี่ได้เปิดตัว "เป๊ปการ์ด" เป็นบัตรสมมนาคุณโดยสามารถสะสมจนครบตามจำนวนที่กำหนดและนำไปแลกเปลี่นเป็นสินค้าชนิดอื่นๆที่ทำออกมาได้
  • พ.ศ. 2540 มีการจับรางวัลโดยนำฝาเป๊ปซี่ที่มีคำว่าลุ้นรถส่งไปที่บริษัทเพื่อจับรางวัล หรือสะสมฝาเป็ปซี่พร้อมเงินสดจำนวนหนึ่งเพื่อแลกเสื้อ หมวก แก้วเป๊ปซี่ได้
  • พ.ศ. 2554 มีการจับรางวัลโดยการนำฝาไปส่งเพื่อแลกกับไบกอนหรือให้บริษัทกำจัดปลวกไปฉีดยาที่บ้านหรือบริษัทของคุณ

ประวัติส่วนตัว

นาย ชัชวาลย์ ไกรทอง
ชื่อเล่น แม็กซ์
วันเกิด 3 มีนาคม 2539
เรียนที่ โรงเรียนปากช่อง 3/7
ที่อยู่ แถวเขาใหญ่
ชาวแก็งค์ ฮัน ออย ต้า ติ๊ดตี่
สิ่งที่อยากเป็น ปลัด (ขิด) ไม่ก็ครู
คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด (คติคลาสสิกที่สุดแระ ^ ^)